ชื่อวิทยาศาสตร์ Lichi chinensis Sonn.
วงศ์ SAPNDACEAE
ลักษณะทั่วไป ลิ้นจี่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 11-12 เมตร แตกกิ่งก้าน บริเวณยอดกลม
ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ใบหนา รูปใบรี ขอบใบขนาน ลักษณะคล้ายหอก ปลายใบแหลม ใบดกหนาทึบ ผิวใบมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อๆ มีดอกย่อยขนาดเล็ก
ผล มีรูปร่างกลมรี ผิวผลขรุขระสากมือ หรือมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีแดงและแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงแข็ง หนึ่งผลมีเพียง 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ เมล็ด เนื้อผล
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกชนิดหนึ่ง
เมล็ด นำมาบดให้เป็นผงละเอียดเป็นยาสมานระงับความเจ็บปวดในกระเพาะอาหาร
เนื้อในผล รับประทานเป็นยาบำรุง และรักษาอาการท้องเดิน
คุณค่าทางอาหาร
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีความหอมอยู่มากเพียงแค่ได้กลิ่นก็หอมสดชื่น ลิ้นจี่ส่วนมากมักนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น แล้วแช่เย็นไว้ดื่มเพื่อกระหาย รสชาติอร่อยชื่นฉ่ำใจ
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามินบี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีนช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนที่เป็นเมล็ดยังสามารถทำเป็นยาระบายความเจ็บปวดในกระเพาะอาหารได้ด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana L.
ชื่อวงศ์ Guttiferae
ชื่ออังกฤษ Mangosteen
ชื่อท้องถิ่น -
คุณค่าทางโภชนาการ การบริโภคมังคุด ทำให้เราได้บริโภคกากใยจากเนื้อของมังคุดด้วย ซึ่งจะช่วยในการขับถ่ายและยังได้สารอาหารวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เปลือกมังคุดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยการใช้เปลือกสดหรือเปลือกแห้งฝนกับน้ำรับประทานหรือจะใช้เปลือกแห้งต้มกับน้ำรับประทานก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
การนำไปใช้ประโยชน์ ปัจจุบันวงการเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้ให้ความสนใจนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่เปลือกมังคุด ที่ช่วยดับกลิ่นเต่า ช่วยบรรเทาโรคผิวหนัง รักษาสิวฝ้า ซึ่งใช้ได้ผลดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เมื่อได้ลิ้มรสของเนื้อในของมังคุดอย่างอิ่มเอมแล้วก็อย่าได้ทิ้งขว้างเปลือกมังคุดให้เป็นขยะเน่าเหม็นโดยเปล่าประโยชน์เลย เปลือกมังคุดยังมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหาเร็ว เช่นใช้รักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย แผลเป็นหนอง โดยการใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผล น้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำล้างแผลใช้แทนการด้วยน้ำยาล้างแผลหรือด่างทับทิมได้ด้วย
เพราะเปลือกมังคุดนี้มีสารแทนนิน (Tannin) และสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวกับมังคุดว่า สารแมงโกสติน (mangostin) สารแทนนินมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแมงโกสตินมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง สารแซนโทนในเปลือกมังคุดยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลากได้อีกด้วย
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่าNephelium ,Canb.หรือEuphorialongana,Lamk.
ชื่อ มะเฟือง
ชื่ออื่น มะเฟืองเปรี้ยว มะเฟืองส้ม เฟือง สะบือ (เขมร)
วงศ์ AVERRHOACEAE
ชื่อสามัญ Carambola
แหล่งที่พบ พบทั่วไปทุกภาค
ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางมีลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกของลำต้นค่อนข้างขรุขระมีตุ่มเล็กๆ ทั่วไป
ใบ ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามแผง แผงหนึ่งมี 7-15 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปมนรีขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบย่อยตรงปลายมักมีขนาดใหญ่กว่าใบตรงโคนแผง
ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามบริเวณกิ่งและลำต้น ดอกมีสีม่วงอ่อนเป็นดอกขนาดเล็ก
ผล ลักษณะของผลเป็นรูปเฟืองมีกลีบอยู่ 5 กลีบ เมื่อยังอ่อนผลเป็นสีเขียว แต่พอผลสุกหรือแก่เต็มที่ ผลก็เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ผลสดอวบน้ำมีสันโดยรอบผ่าตามขวางเป็นรูปดาว เมล็ดมีสีดำยาวเรียวยาวประมาณ 5 มม.
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ Mango Tree
ชื่อท้องถิ่น
ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน ,กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก นครราชสีมา เรียก โตร้ก มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า เขมร เรียก สะวาย
เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง จีน เรียก มั่งก้วย
ลักษณะทั่วไป มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด ผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด
การปลูก มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา
ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
คติความเชื่อ มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava Linn.
วงศ์ Myrtacea
ชื่อท้องถิ่น มะมั่น มะก้วยกา (ภาคเหนือ) บักสีดา(ภาคอีสาน) ย่าหมู ยามู (ภาคใต้) มะปุ่น (ตาก สุโขทัย) มะแกว (แพร่)
ลักษณะของพืช »
ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม สีเขียว รูปใบรี ปลายใบมน หรือมีกิ่งแหลม โคนใบมน ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อละ 2-3 ดอก ดอกย่อยมีสีขาว มีเกสรตัวผู้มากเป็นฝอย ผล ดิบมีสีเขียวใบไม้ เมื่อสุกจะเป็นสีเขียวอ่อนปนเหลือง เนื้อในเป็นสีขาวมีกลิ่นเฉพาะมีเมล็ดมาก
การปลูก »
นิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ฝรั่งชอบดินร่วนปนทรายอุดมด้วยธาตุอาหารไม่ชอบมีน้ำขังแฉะ ไม่ชอบอากาศเย็นจัด ควรปลูกในฤดูฝนวิธีปลูกโดยการขุดหลุม ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเอาไว้ เอากิ่งตอนลงปลูกรดน้ำ ดูแลวัชพืช ให้ดีด้วย
ส่วนที่ใช้เป็นยา »
ใบแก่สดหรือผลอ่อน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา »
เก็บใบในช่วงที่แก่เต็มที่หรือผลที่ยังอ่อน
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
ใบฝรั่งมีน้ำมันหอมระเหย Eugenol, Tannin รวม 8-10 % และอื่นๆ ส่วนผลดิบอยู่ก็มี "แทนนิน" วิตามิน ซี แคลเซียม ออกซาเลท และอื่นๆ สารแทนนินที่มีอยู่ทำให้ใบและผลดิบของฝรั่งมีฤทธิ์ฝาดสมานใช้รักษาอาการท้องเสียและสารสกัดด้วยน้ำจากใบ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอนอีกด้วย
วิธีใช้ »
ผลอ่อนและใบแก่ของฝรั่งแก้ท้องเสียได้เป็นอย่างดี แก้อาการท้องเดิน ซึ่งเป็นยาแก้ท้องเดินแบบไม่รุนแรง ที่ไม่ใช่เกิดจากเชื่อบิดหรืออหิวาตกโรคโดยใช้ใบแก่ 10-15 ใบ ปิ้งไผแล้วชงน้ำร้อนดื่ม หรือให้ใช้ผลอ่อนๆ 1 ผล ฝนกับน้ำปนใสดื่มเมื่อมีอาการท้องเสีย
คุณค่าทางอาหาร »
ผลฝรั่งที่สุกหรือแก่จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากฝรั่งมีหลายพันธุ์ที่เดียวแต่ละพันธุ์ก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เนื้อของฝรั่งมี วิตามิน ซี สูงช่วยบรรเทาและแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิดได้ดี นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เอ มีเหล็ก แคลเซียมและเกลือแร่อื่นๆอีก ฝรั่งมีฤทธิ์ดับกลิ่นปากได้ดีเยี่ยมตามที่เราท่านทราบกันดีอยู่แล้วเช่น เคี้ยวใบฝรั่งสักใบเดียวในปากก็ดับกลิ่นปากได้อย่างวิเศษมากว่ากันว่าเอาลูกฝรั่งสุกๆวางๆว้ในโลงศพยังสามารถดับกลิ่นเหม็นเน่าของศพได้ดีมาก นี่แหละความดี
ชื่อพฤกษศาสตร์:Syzygium samarangense (Blume) Merr. & L.M. Perry
วงศ์:MYRTACEAE
ชื่ออื่นๆ:Java- apple, Wax apple, ชมพู่แก้มแหม่ม
ลักษณะ
ชมพู่เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบใบ เดี่ยว รูปขอบขนาน หนา เรียวยาว และแหลม กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 8 มม.สีเขียวเข้ม ดอกเป็นมันดอกช่อ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ร่วงง่ายผล คล้ายสามเหลี่ยมฐานกว้าง บางพันธุ์มีผล กลมรี สีแดงเข้ม แดง ชมพู เขียว เนื้อใน สีขาวนวล รสหวานหอมชื่นใจ เมล็ด โต สีน้ำตาล ประโยชน์ การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ประโยชน์ ผลกินได้
ถิ่นกำเนิด ชะวา กระจายทั่วไปในเขตร้อน เป็นไม้ปลูกตามสวนเพื่อกินหรือขายเป็นสินค้า
ลองกอง
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lansium domesticum Corr.
ตระกูล -
วงศ์
ถิ่นกำเนิด -
ชื่ออื่นๆ -
ลักษณะโดยทั่วไป
ลองกอง เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ดังนั้นสภาพอากาศที่ปลูกลองกองควรมีอากาศร้อนและชุ่มชื้น อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 70-80% ปริมาณน้ำฝน 2000-3000 มิลลิเมตรต่อปี ระดับความสูงน้อยกว่า 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ำดี และต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะให้กับลองกองตามเวลาที่ต้องการ
การปลูก
การปลูกลองกองสามารถปลูกด้วยต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดโดยตรง หรือต้นกล้าที่เปลี่ยนยอดแล้ว การเปลี่ยนยอดทำได้หลายวิธี คือ การเสียบยอด การเสียบข้าง การทาบกิ่ง และติดตา ก่อนปลูกลองกอง ควรเตรียมพื้นที่วางระบบน้ำ และปลูกพืชให้ร่มเงาให้เรียบร้อยการเตรียมต้นกล้าต้นกล้าที่ใช้ควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปี สมบูรณ์แข็งแรง ใบยอดคู่สุดท้ายแก่เต็มที่ ก่อนปลูกค่อย ๆ งดน้ำและปุ๋ย และเพิ่มแสงให้มากขึ้นทีละน้อย การปรับพื้นที่ควรขุดตอและรากไม้เก่าออกให้หมด ไถตากดินไว้ 10-15 วัน แล้วปรับพื้นที่ให้เสมอ การวางระบบน้ำการปลูกลองกองเป็นการค้า จำเป็นต้องมีระบบน้ำ ควรใช้ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกลอร์) ระยะปลูกถ้าปลูกแซมกับพืชอื่นระยะปลูกที่ใช้ขึ้นกับพืชหลัก (พืชประธาน) ถ้าปลูกเป็นพืชเดี่ยว ควรใช้ระยะระหว่างต้น 4-6 เมตร และระหว่างแถว 6-8 เมตร พืชที่ให้ร่มเงาปลูกในสวนที่ปลูกลองกองพืชเดี่ยว เช่น กล้วย ยอป่า ทองหลาง แคฝรั่ง และสะตอ เป็นต้น และควรมีพืชบังลม เช่น กระถิน ไผ่ และสน รอบ ๆ สวนด้วย การเตรียมหลุมปลูก ขึ้นกับสภาพของดิน และการวางระบบน้ำ- กรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การขุดหลุมไม่จำเป็นต้องทำ หลังจากกำหนดแนวและจุดปลูกแล้วให้โรยหินฟอสเฟต 500 กรัม (ประมาณ 1.5 กระป๋องนมข้น) พรวนคลุกกับหน้าดินให้เข้ากัน- ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรขุดหลุมขนาด กว้าง ลึก และยาว ด้านละ 50 ซม. ใส่ปุ๋ยคอก 1 ปี๊บ และหินฟอสเฟต 1.5 กระป๋องนมข้น คลุกกับดินที่ขุดหลุมแล้วกลบคืนลงในหลุม 2ใน3 ของหลุม ฤดูปลูกควรปลูกต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) แต่ถ้ามีน้ำรดเพียงพอก็สามารถปลูกในฤดูร้อนได้
ชื่อพื้นเมือง: ละมุด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Maniltcara P.Royen
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ: Sapodilla
การขยายพันธุ์ : การตอน การติดตา
ลักษณะโดยทั่วไป
ต้น : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ มีกิ่งเหนียว เปลือกของลำต้นมีสีน้ำตาล
ใบ : จะมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน เกิดเป็นกระจุก แน่นตามปลายกิ่ง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นแตร
ผล : รูปไข่ ยาวรีหรือกลม ขึ้นอยู่กับพันธุ์เปลือกผลบางมีสีน้ำตาลอ่อน ผลดิบมียางสีขาว ผลสุก เนื้อจะมีสีน้ำตาลแดง
เมล็ด : มีเปลือกหุ้ม เมล็ดสีดำเป็นมัน เปลือกแข็งรูปร่าง 1-2 เซนติเมตร ผลหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 2-6 เมล็ด
ประโยชน์ : เปลือก มียาง(LATEX) ยาง CHICLE GUM นำไปใช้ทำหมากฝรั่ง (CHEWING GUM)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Jackfruit Tree
ชื่ออื่น ๆ มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง
วงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Jackfruit Tree
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
นิเวศวิทยา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง
ประโยชน์ ผลอ่อนใช้ปรุงอาหารผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่นให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล
การดูแลรักษา (สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น