วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลไม้ไทย

ลิ้นจี่






ชื่ออื่น ลีจี (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lichi chinensis Sonn.
วงศ์ SAPNDACEAE
ลักษณะทั่วไป ลิ้นจี่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 11-12 เมตร แตกกิ่งก้าน บริเวณยอดกลม
ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ใบหนา รูปใบรี ขอบใบขนาน ลักษณะคล้ายหอก ปลายใบแหลม ใบดกหนาทึบ ผิวใบมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อๆ มีดอกย่อยขนาดเล็ก
ผล มีรูปร่างกลมรี ผิวผลขรุขระสากมือ หรือมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีแดงและแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงแข็ง หนึ่งผลมีเพียง 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ เมล็ด เนื้อผล
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกชนิดหนึ่ง
เมล็ด นำมาบดให้เป็นผงละเอียดเป็นยาสมานระงับความเจ็บปวดในกระเพาะอาหาร
เนื้อในผล รับประทานเป็นยาบำรุง และรักษาอาการท้องเดิน
คุณค่าทางอาหาร
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีความหอมอยู่มากเพียงแค่ได้กลิ่นก็หอมสดชื่น ลิ้นจี่ส่วนมากมักนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น แล้วแช่เย็นไว้ดื่มเพื่อกระหาย รสชาติอร่อยชื่นฉ่ำใจ
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามินบี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีนช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนที่เป็นเมล็ดยังสามารถทำเป็นยาระบายความเจ็บปวดในกระเพาะอาหารได้ด้วย






มังคุด






ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana L.
ชื่อวงศ์ Guttiferae
ชื่ออังกฤษ Mangosteen
ชื่อท้องถิ่น -
ลักษณะ/พันธุ์ มังคุดที่ปลูกในประเทศไทยมีพันธุ์เดียว เรียกกันว่าเป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะเพาะเมล็ด และเมล็ดมังคุดไม่ได้เกิดจากการผสมเกสรจึงแทบจะไม่มีโอกาสกลายพันธุ์เลย เนื่องจากเกสรตัวผู้ของดอกมังคุดเป็นหมัน เมล็ดจึงเจริญจากเนื้อเยื่อของต้นแม่โดยไม่ได้รับการผสมเกสร ดังนั้นจึงเชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียว แม้จะพบว่ามังคุดสายพันธุ์จากเมืองนนท์มีผลเล็กและเปลือกบาง มังคุดภาคใต้เปลือกหนาแต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนพอที่จะแยกเป็นพันธุ์ได้
คุณค่าทางโภชนาการ การบริโภคมังคุด ทำให้เราได้บริโภคกากใยจากเนื้อของมังคุดด้วย ซึ่งจะช่วยในการขับถ่ายและยังได้สารอาหารวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น น้ำตาล กรดอินทรีย์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เปลือกมังคุดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วงเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยการใช้เปลือกสดหรือเปลือกแห้งฝนกับน้ำรับประทานหรือจะใช้เปลือกแห้งต้มกับน้ำรับประทานก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
การนำไปใช้ประโยชน์ ปัจจุบันวงการเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้ให้ความสนใจนำสารสกัดจากเปลือกมังคุดไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่เปลือกมังคุด ที่ช่วยดับกลิ่นเต่า ช่วยบรรเทาโรคผิวหนัง รักษาสิวฝ้า ซึ่งใช้ได้ผลดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เมื่อได้ลิ้มรสของเนื้อในของมังคุดอย่างอิ่มเอมแล้วก็อย่าได้ทิ้งขว้างเปลือกมังคุดให้เป็นขยะเน่าเหม็นโดยเปล่าประโยชน์เลย เปลือกมังคุดยังมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหาเร็ว เช่นใช้รักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย แผลเป็นหนอง โดยการใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผล น้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำล้างแผลใช้แทนการด้วยน้ำยาล้างแผลหรือด่างทับทิมได้ด้วย
เพราะเปลือกมังคุดนี้มีสารแทนนิน (Tannin) และสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวกับมังคุดว่า สารแมงโกสติน (mangostin) สารแทนนินมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแมงโกสตินมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง สารแซนโทนในเปลือกมังคุดยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลากได้อีกด้วย








ลำไย





ลำไยมีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan)
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่าNephelium ,Canb.หรือEuphorialongana,Lamk.
วงศ์Sapedadceaeทีน(Native)ในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน ลักษณะทั่วไปของพืชลำไยเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน ลำต้นเจริญเต็มที่สูงประมาณ 10 - 12 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้างประมาณ 6 -8 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีหน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5 - 6 และมีการระบาดน้ำดี อุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 20 - 25 องศาเซลเซียส และในช่วงก่อนออกดอกต้องการอุณหภูมิระหว่าง 10 - 12 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน ที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 1,200 - 1,400 มิลลิเมตร / ปี ความชื้นสัมพัทธ์ในระยะก่อนออกดอกควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นสัมพัทธ์ในระยะติดผลอยู่ระหว่าง 80 - 100 เปอร์เซ็นต์ ลำไยอายุตั้งแต่ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตและจะให้ผลเต็มที่เมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป ลำไยสามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 30 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา การตัดแต่งกิ่ง ระยะเวลาตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 6 เดือน ผลผลิตเฉลี่ยของลำไยที่โตเต็มที่ประมาณ 200 กิโลกรัม / ต้น ปริมาณของผลผลิตอยู่ระหว่าง 60 - 90 ผล / กิโลกรัม และฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม -เดือนสิงหาคม
ประโยชน์ของลำไย เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๓๐-๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้ ผลลำไยมีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียวภายในมีเนื้อขาวอมชมพูขาวอมเลืองแล้วแต่สายพันธุ์เนื้อลำไย สามารถ บริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร





มะเฟือง





ชื่อ มะเฟือง
ชื่ออื่น มะเฟืองเปรี้ยว มะเฟืองส้ม เฟือง สะบือ (เขมร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa carambola Linn.
วงศ์ AVERRHOACEAE
ชื่อสามัญ Carambola
แหล่งที่พบ พบทั่วไปทุกภาค
ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางมีลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกของลำต้นค่อนข้างขรุขระมีตุ่มเล็กๆ ทั่วไป
ใบ ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามแผง แผงหนึ่งมี 7-15 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปมนรีขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบย่อยตรงปลายมักมีขนาดใหญ่กว่าใบตรงโคนแผง
ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามบริเวณกิ่งและลำต้น ดอกมีสีม่วงอ่อนเป็นดอกขนาดเล็ก
ผล ลักษณะของผลเป็นรูปเฟืองมีกลีบอยู่ 5 กลีบ เมื่อยังอ่อนผลเป็นสีเขียว แต่พอผลสุกหรือแก่เต็มที่ ผลก็เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ผลสดอวบน้ำมีสันโดยรอบผ่าตามขวางเป็นรูปดาว เมล็ดมีสีดำยาวเรียวยาวประมาณ 5 มม.
ประโยชน์ของมะเฟืองนอกจากจะรับประทานสดแล้วยังนำมาทำเป็นน้ำมะเฟืองคั้นได้อีกด้วย
สรรพคุณในการแก้ร้อนใน ดับกระหาย ลดความร้อนภายในร่างกาย ถอนพิษไข้ เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโลหิตจาง โรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับปัสสาวะและบรรเทาอาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะสรรพคุณทางยา
- ใบมะเฟือง นำใบสดๆมาตำ ทำเป็นยารักษาโรคอีสุกอีใสและกลากเกลือ้น นำมาต้มรับประทานเป็นยาถอนพิษไข้
- ผลมะเฟือง นำมาต้มรับประทานเป็นยาแก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะ ปวดฟัน นิ่ว และแก้ไขเลือดออกตามไรฟัน
- เปลือกลำต้นมะเฟือง ใช้ทาภายนอก แก้ผดผื่นคันตามเนื้อตัว
- น้ำมะเฟือง นำมาดื่มแก้อาการเมาเหล้า เมารถ แก้ไข้ ท้องร่วง





มะม่วง





ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica Linn.
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ชื่อสามัญ Mango Tree
ชื่อท้องถิ่น
ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน ,กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก นครราชสีมา เรียก โตร้ก มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า เขมร เรียก สะวาย
เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง จีน เรียก มั่งก้วย
ลักษณะทั่วไป มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด ผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด
การปลูก มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา
ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
คติความเชื่อ มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น



ฝรั่ง





ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava Linn.
วงศ์ Myrtacea

ชื่อท้องถิ่น มะมั่น มะก้วยกา (ภาคเหนือ) บักสีดา(ภาคอีสาน) ย่าหมู ยามู (ภาคใต้) มะปุ่น (ตาก สุโขทัย) มะแกว (แพร่)
ลักษณะของพืช »
ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม สีเขียว รูปใบรี ปลายใบมน หรือมีกิ่งแหลม โคนใบมน ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อละ 2-3 ดอก ดอกย่อยมีสีขาว มีเกสรตัวผู้มากเป็นฝอย ผล ดิบมีสีเขียวใบไม้ เมื่อสุกจะเป็นสีเขียวอ่อนปนเหลือง เนื้อในเป็นสีขาวมีกลิ่นเฉพาะมีเมล็ดมาก
การปลูก »
นิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ฝรั่งชอบดินร่วนปนทรายอุดมด้วยธาตุอาหารไม่ชอบมีน้ำขังแฉะ ไม่ชอบอากาศเย็นจัด ควรปลูกในฤดูฝนวิธีปลูกโดยการขุดหลุม ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเอาไว้ เอากิ่งตอนลงปลูกรดน้ำ ดูแลวัชพืช ให้ดีด้วย
ส่วนที่ใช้เป็นยา »
ใบแก่สดหรือผลอ่อน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา »
เก็บใบในช่วงที่แก่เต็มที่หรือผลที่ยังอ่อน
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
ใบฝรั่งมีน้ำมันหอมระเหย Eugenol, Tannin รวม 8-10 % และอื่นๆ ส่วนผลดิบอยู่ก็มี "แทนนิน" วิตามิน ซี แคลเซียม ออกซาเลท และอื่นๆ สารแทนนินที่มีอยู่ทำให้ใบและผลดิบของฝรั่งมีฤทธิ์ฝาดสมานใช้รักษาอาการท้องเสียและสารสกัดด้วยน้ำจากใบ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอนอีกด้วย
วิธีใช้ »
ผลอ่อนและใบแก่ของฝรั่งแก้ท้องเสียได้เป็นอย่างดี แก้อาการท้องเดิน ซึ่งเป็นยาแก้ท้องเดินแบบไม่รุนแรง ที่ไม่ใช่เกิดจากเชื่อบิดหรืออหิวาตกโรคโดยใช้ใบแก่ 10-15 ใบ ปิ้งไผแล้วชงน้ำร้อนดื่ม หรือให้ใช้ผลอ่อนๆ 1 ผล ฝนกับน้ำปนใสดื่มเมื่อมีอาการท้องเสีย
คุณค่าทางอาหาร »
ผลฝรั่งที่สุกหรือแก่จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากฝรั่งมีหลายพันธุ์ที่เดียวแต่ละพันธุ์ก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เนื้อของฝรั่งมี วิตามิน ซี สูงช่วยบรรเทาและแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิดได้ดี นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เอ มีเหล็ก แคลเซียมและเกลือแร่อื่นๆอีก ฝรั่งมีฤทธิ์ดับกลิ่นปากได้ดีเยี่ยมตามที่เราท่านทราบกันดีอยู่แล้วเช่น เคี้ยวใบฝรั่งสักใบเดียวในปากก็ดับกลิ่นปากได้อย่างวิเศษมากว่ากันว่าเอาลูกฝรั่งสุกๆวางๆว้ในโลงศพยังสามารถดับกลิ่นเหม็นเน่าของศพได้ดีมาก นี่แหละความดี




ชมพู่






ชื่อพฤกษศาสตร์:Syzygium samarangense (Blume) Merr. & L.M. Perry
วงศ์:MYRTACEAE
ชื่ออื่นๆ:Java- apple, Wax apple, ชมพู่แก้มแหม่ม

ลักษณะ
ชมพู่เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบใบ เดี่ยว รูปขอบขนาน หนา เรียวยาว และแหลม กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 8 มม.สีเขียวเข้ม ดอกเป็นมันดอกช่อ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ร่วงง่ายผล คล้ายสามเหลี่ยมฐานกว้าง บางพันธุ์มีผล กลมรี สีแดงเข้ม แดง ชมพู เขียว เนื้อใน สีขาวนวล รสหวานหอมชื่นใจ เมล็ด โต สีน้ำตาล ประโยชน์ การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ประโยชน์ ผลกินได้
ถิ่นกำเนิด ชะวา กระจายทั่วไปในเขตร้อน เป็นไม้ปลูกตามสวนเพื่อกินหรือขายเป็นสินค้า

ลองกอง









ชื่อไทย ลองกอง
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lansium domesticum Corr.
ตระกูล -
วงศ์
ถิ่นกำเนิด -
ชื่ออื่นๆ -
ลักษณะโดยทั่วไป
ลองกอง เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ดังนั้นสภาพอากาศที่ปลูกลองกองควรมีอากาศร้อนและชุ่มชื้น อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 70-80% ปริมาณน้ำฝน 2000-3000 มิลลิเมตรต่อปี ระดับความสูงน้อยกว่า 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายมีอินทรียวัตถุสูง มีการระบายน้ำดี และต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะให้กับลองกองตามเวลาที่ต้องการ
การปลูก
การปลูกลองกองสามารถปลูกด้วยต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดโดยตรง หรือต้นกล้าที่เปลี่ยนยอดแล้ว การเปลี่ยนยอดทำได้หลายวิธี คือ การเสียบยอด การเสียบข้าง การทาบกิ่ง และติดตา ก่อนปลูกลองกอง ควรเตรียมพื้นที่วางระบบน้ำ และปลูกพืชให้ร่มเงาให้เรียบร้อยการเตรียมต้นกล้าต้นกล้าที่ใช้ควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปี สมบูรณ์แข็งแรง ใบยอดคู่สุดท้ายแก่เต็มที่ ก่อนปลูกค่อย ๆ งดน้ำและปุ๋ย และเพิ่มแสงให้มากขึ้นทีละน้อย การปรับพื้นที่ควรขุดตอและรากไม้เก่าออกให้หมด ไถตากดินไว้ 10-15 วัน แล้วปรับพื้นที่ให้เสมอ การวางระบบน้ำการปลูกลองกองเป็นการค้า จำเป็นต้องมีระบบน้ำ ควรใช้ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกลอร์) ระยะปลูกถ้าปลูกแซมกับพืชอื่นระยะปลูกที่ใช้ขึ้นกับพืชหลัก (พืชประธาน) ถ้าปลูกเป็นพืชเดี่ยว ควรใช้ระยะระหว่างต้น 4-6 เมตร และระหว่างแถว 6-8 เมตร พืชที่ให้ร่มเงาปลูกในสวนที่ปลูกลองกองพืชเดี่ยว เช่น กล้วย ยอป่า ทองหลาง แคฝรั่ง และสะตอ เป็นต้น และควรมีพืชบังลม เช่น กระถิน ไผ่ และสน รอบ ๆ สวนด้วย การเตรียมหลุมปลูก ขึ้นกับสภาพของดิน และการวางระบบน้ำ- กรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การขุดหลุมไม่จำเป็นต้องทำ หลังจากกำหนดแนวและจุดปลูกแล้วให้โรยหินฟอสเฟต 500 กรัม (ประมาณ 1.5 กระป๋องนมข้น) พรวนคลุกกับหน้าดินให้เข้ากัน- ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรขุดหลุมขนาด กว้าง ลึก และยาว ด้านละ 50 ซม. ใส่ปุ๋ยคอก 1 ปี๊บ และหินฟอสเฟต 1.5 กระป๋องนมข้น คลุกกับดินที่ขุดหลุมแล้วกลบคืนลงในหลุม 2ใน3 ของหลุม ฤดูปลูกควรปลูกต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) แต่ถ้ามีน้ำรดเพียงพอก็สามารถปลูกในฤดูร้อนได้




ละมุด







ชื่อพื้นเมือง: ละมุด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Maniltcara P.Royen
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ: Sapodilla
การขยายพันธุ์ : การตอน การติดตา
ลักษณะโดยทั่วไป
ต้น : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ มีกิ่งเหนียว เปลือกของลำต้นมีสีน้ำตาล
ใบ : จะมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน เกิดเป็นกระจุก แน่นตามปลายกิ่ง
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นแตร
ผล : รูปไข่ ยาวรีหรือกลม ขึ้นอยู่กับพันธุ์เปลือกผลบางมีสีน้ำตาลอ่อน ผลดิบมียางสีขาว ผลสุก เนื้อจะมีสีน้ำตาลแดง
เมล็ด : มีเปลือกหุ้ม เมล็ดสีดำเป็นมัน เปลือกแข็งรูปร่าง 1-2 เซนติเมตร ผลหนึ่งจะมีเมล็ดประมาณ 2-6 เมล็ด
ประโยชน์ : เปลือก มียาง(LATEX) ยาง CHICLE GUM นำไปใช้ทำหมากฝรั่ง (CHEWING GUM)




ขนุน








ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Jackfruit Tree
ชื่ออื่น ๆ มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง
วงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Jackfruit Tree
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
นิเวศวิทยา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง
ประโยชน์ ผลอ่อนใช้ปรุงอาหารผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่นให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล




เงาะ








ชื่อไทย เงาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephelium lappaceum
ชื่อสามัญ เงาะ Rambutanวงศ์
ชื่ออื่นๆ
การดูแลรักษา (สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว)
การใส่ปุ๋ย
- เพื่อบำรุงต้นหลังการเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ 20 – 50 กก./ต้น ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 1 – 3 กก./ต้น- เพื่อส่งเสริมการออกดอก (ช่วงปลายฝน) ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 2 – 3 กก./ต้น หรือ- เพื่อบำรุงผล (หลังติดผล 3 – 4 สัปดาห์) ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 2 – 3 กก./ต้น ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก 20 – 30 กก./ต้นการให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21 – 30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7 – 10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก (สีของตายอดจะเปลี่ยนจากน้ำตาลดำเป็นน้ำตาลทอง) ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ? ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโตการปฏิบัติอื่นๆ
- การเตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออกดอกในฤดูถัดไป คือ การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด และให้รักษาใบอ่อนที่แตกออกมาให้สมบูรณ์ หมั่นป้องกันกำจัดโรคราแป้งและหนอนคืบกินใบ
- การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล: การช่วยให้เงาะผสมเกสรได้ดีขึ้น โดยการเพิ่มปริมาณเกสรตัวผู้ ทำได้หลายวิธี เช่น- พ่นฮอร์โมนพืช เมื่อช่อดอกส่วนใหญ่ของต้นบานได้ร้อยละ 5 ให้ฉีด พ่นช่อดอกบริเวณส่วนบนของทรงพุ่มด้วยฮอร์โมน เอ็น เอ เอ ในอัตรา 2 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรประมาณ 4 – 5 จุด/ต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติโดยทั่วไป
- รวบรวมละอองเกสรตัวผู้ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นเมื่อช่อดอกบนต้นบานได้ 50 %
- เปลี่ยนยอดให้เป็นกิ่งตัวผู้ ทำได้โดยการตัดยอดของเงาะต้นตัวเมีย เลี้ยงกิ่งกระโดงขึ้น มา แทนที่แล้วนำกิ่งจากต้นตัวผู้มาทาบบนกิ่งกระโดงนี้ ส่วนการสร้างสวนใหม่ควรปลูก ต้นตัวผู้แซมไปในระหว่างแถวของต้นตัวเมีย
- เลี้ยงผึ้งหรือติดต่อผู้เลี้ยงผึ้งให้นำผึ้งมาเลี้ยงในสวนระยะดอกบาน: ตรวจสอบและป้องกันกำจัดราแป้งอย่างใกล้ชิด ในทุกช่วงของการพัฒนาการของดอกและผลการป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำคัญ (เน้นการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน)ช่วงแตกใบอ่อน
– หนอนคืบกินใบ : คาร์บาริลหรือ คาร์โบซัลแฟนช่วงออกดอกและติดผล
– โรคราแป้ง : ต้นที่เริ่มพบโรคให้ใช้กำมะถันผง แต่ถ้ามีโรคหนาแน่นมาก ให้พ่นด้วย เบโนมิล หรือ ไดโนแคป หรือ ไตรดีมอร์ฟ ระยะห่าง 7 – 10 วัน/ครั้ง